วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

การติดตั้งไดรเวอร์



ติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ
            หลังจากติดตั้งระบบปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว อุปกรณ์หลักส่วนใหญ่อย่าง คีย์บอร์ด เมาส์ ไดรว์ซีดีรอม ฮาร์ดดิสก์  หรือฟล็อปปี้ดิสก์  จะพร้อมให้ใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องอาศัยไดรเวอร์หรือโปรแกรมเพิ่มเติมทั้งนี้ก็ด้วยคุณสมบัติ Plug and Play (PnP) ของอุปกรณ์ที่สามารถแจ้งรายละเอียดต่างๆ ของตัวเองแก่ BIOS และระบบปฏิบัติการได้ รวมทั้งความสามรรถของระบบปฏิบัติการณ์รุ่นใหม่ ๆ ที่ช่วยตรวจสอบและติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้โดยอัตโนมัติ แต่เนื่องจากอุปกรณ์ต่างรุ่นจากต่างผู้ผลิตกันมักจะมีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างกันออกไปด้วย ทั้งระบบปฏิบัติการเองก็คงไม่สามารถตระเตรียมมไดรเวอร์มาให้กับอุปกรณ์ทุกร่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ จึงจำเป็นต้องใช้ไดรเวอร์จากบริษัทผู้ผลิตโดยตรงที่มาพร้อมกับอุปกรณ์แทนดังนั้น ในบทนี้จึงขออธิบายขั้นตอน และวิธีการในการติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

ลำดับในการติดตั้งไดรเวอร์ 
            สำหรับการบู๊ตเครื่องครั้งแรกภายหลังการติดตั้ง Windows เสร็จใหม่ ๆ จะมีการตรวจพบอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ด เช่น ชิปเซ็ต พอร์ต  USB  ฯลฯ และติดตั้งไดรเวอร์ให้โดยอัตโนมัติ  ซึ่ง Windows อาจจะถามหาแผ่นไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์บางตัวด้วย โดยที่คุณอาจจะตอบปฏิเสธการติดตั้งไดรเวอร์ไปก่อนแล้วมาติดตั้งด้วยตัวเองในภายหลังก็ได้  ตามขั้นตอนดังรูปในหน้าถัดไป
11
            การติดตั้งไดรเวอร์จะเริ่มจากไดรเวอร์สำหรับเมนบอร์ดก่อน (ถ้ามี) เนื่องจากเป็นตัวกลางหลักที่เชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ อีกที จึงต้องจัดการให้เรียบร้อยก่อน ไดรเวอร์สำหรับเมนบอร์ดนี้หมายรวมถึงไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์พิเศษอื่น ๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดด้วย จากนั้นบู๊ตเครื่อง  1  ครั้งเพื่อให้ไดรเวอร์ถูกโหลดและทำงานเสียก่อนจึงค่อยติดตั้งไดรเวอร์อื่น ๆ ต่อ
            ลำดับถัดมาที่ควรจะติดตั้งคือไดรเวอร์การ์ดแสดงผล ซึ่งเป็นไดรเวอร์ที่จำเป็นรองจากเมนบอร์ดพร้อมทั้งสามารถติดตั้งไดรเวอร์ของจอภาพต่อเนื่องไปด้วยก็ได้ หลังจากติดตั้งเสร็จ บู๊ตเครื่องและปรับตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าจอเรียบร้อยแล้ว จึงค่อยติดตั้งไดรเวอร์อุปกรณ์ตัวอื่น ๆ ต่อไปโดยจะติดตั้งตัวไหนก่อนหลังอย่างไรก็ไม่มีปัญญาแล้ว


การติดตั้งไดรเวอร์แบบอัตโนมัติโดย Windows
            วิธีการนี้จะใช้ได้กับอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติ Plug and  Play (PnP) เท่านั้นโดย Windows  จะค้นหาและติดตั้งไดรเวอร์ให้เองโดยอัตโนมัติเท่าที่ Windows รู้จักและมีไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์นั้น ๆ อยู่ซึ่งรายละเอียดของการติดตั้งไดรเวอร์ด้วยวีการดังกล่าว มีดังนี้
            1.  (สำหรับ Windows XP) เมื่อเปิดเครื่องระบบ Windows จะตรวจสอบและค้นหาอุปกรณ์ที่ยังไม่ได้รับการติดตั้งไดรเวอร์ให้ โดยเมื่อพบเจออุปกรณ์ และ Windows มีไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์นั้น ๆ เตรียมไว้อยู่แล้วระบบ Windows  จะติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์นั้น ๆ ทันทีโดยสังเกตที่มุมล่างขวาของหน้าจอ ดังรูป
           22
2. แต่ถ้าไม่สามารถติดตั้งไดรเวอร์แบบอัตโนมัติโดย Windows  ได้ระบบก็จะถามหาแผ่นไดรเวอร์โดยแสดงหน้าต่าง Fond New  Hardware Wizard ขึ้นมา เพื่อให้เราติดตั้งจากแผ่นซีดี หรือไฟล์ไดรเวอร์ของอุปกรณ์ตัวนั้น โดยระบุพาธหรือแหล่งเก็บของไหล์ไดรเวอร์ให้ถูกต้อง ซึ่งในการติดตั้งก็จะมีขั้นตอนต่างๆ เหมือนกันกับวิธีการเรียกใช้ Add  Hardware Wizard  ในหัวข้อถัดไป
Note :
สำหรับอุปกรณ์ประเภทต่อพ่วงภายนอก และอุปกรณ์ที่มีสวิทซ์สำหรับปิด/เปิดเครื่อง  เช่น  เครื่องพิมพ์หรือโมเด็ม ต้องเปิดสวิทซ์ไว้ด้วย Windows  จึงจะสามารถตรวจพบได้


การติดตั้งไดรเวอร์โดยใช้ตัวช่วย Add  hardware  Wizard
            วิธีการนี้มักจะใช้กับอุปกรณ์ที่  Windows  ไม่รู้จักหรือไม่สามารถตรวจพบได้ (ส่วนใหญ่มักเป็นอุปกรณ์รุ่นเก่า ๆ ที่ไม่มีคุณสมบัติ  Plug and Play) ซึ่งเราจะต้องมาระบุประเภท  รุ่น  ยี่ห้อ  และไฟล์ไดรเวอร์ของตัวอุปกรณ์เอง โดยทั้งนี้เราจะต้องมีไฟล์ไดรเวอร์ที่ใช้กับ Windows  รุ่นนั้น ๆ ได้อยู่ด้วย ซึ่งอาจจะมาจากแผ่น (ซีดีหรือดิสเก็ตต์) ไดรเวอร์ที่แถมมากับตัวอุปกรณ์  หรือดาวน์โหลดมาจากเว็บไซท์ของผู้ผลิตก็ได้ สำหรับการเรียกใช้ Add Hardware Wizard  นั้นมาได้จากหลายทาง เช่น จากไอคอนใน control Panel, จากหน้าต่าง System Properties และจากการถามหาแผ่นไดรเวอร์ของ Windows  เมื่อไม่สามารถติดตั้งไดรเวอร์แบบอัตโนมัติได้ (ในหัวข้อที่แล้ว) เป็นต้น โดยขั้นตอนในการติดตั้งไดรเวอร์มีดังนี้
Note :
 
            การติดตั้งไดรเวอร์อีกวิธีหนึ่งคือ คลิกขวาที่ไอคอน My Computer แล้วเลือก Properties จากนั้นคลิกที่แท็บ Hardware แล้วคลิกปุ่ม       Add hardware Wizard
Note :

            ไฟล์ไดรเวอร์ที่ดาวน์โหลดมาจากเว็บไซท์ต่างๆ ส่วนมากมักจะอยู่ในรูปแบบของไฟล์ที่ถูกบีบอัดไว้ (.ZIP) ให้มีขนาดเล็ก เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้รวดเร็วขึ้น  ซึ่งไฟล์ดังกล่าวจำเป็นจะต้องนำมาคลายการบีบอัดไฟล์เสียก่อนจึงจะสามารถใช้งานไฟล์เหล่านั้นได้  แต่ในบางครั้งไฟล์ไดรเวอร์ที่ดาวน์โหลดมาอาจจะอยู่ในรูปแบบของไฟล์ติดตั้ง (.EXE) ซึ่งเมื่อดาวน์โหลดมาแล้วสมารถดับเบิลคลิกที่ไฟล์เพื่อเริ่มติดตั้งได้ทันที


 

การติดตั้งไดรเวอร์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปจาแผ่นติดตั้งที่ให้มาพร้อมตัวอุปกรณ์ 
33            โดยมากอุปกรณ์ต่างๆ ที่ซื้อมามักจะมีแผ่นซีดีไดรเวอร์ติดมาให้ด้วย ซึ่งภายในนอกจากจะบรรจุไฟล์ไดรเวอร์มาให้แล้ว  ก็ยังอาจจะสอดแทรกโปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities) พิเศษต่างๆ แถมมาให้ในแผ่นด้วยสำหรับการติดตั้งไดรเวอร์ด้วยวิธีการนี้นั้นง่ายมาก  เพียงคลิกเมาส์ที่เมนูหลักภายในแผ่นและปฏิบัติตามขั้นตอนที่โปรแกรมแนะนำไม่กี่ครั้งก็สามารถติดตั้งไดรเวอร์ได้เรียบร้อย  ซึ่งวิธีการนี้ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ใด ๆ เช่น เมนบอร์ด, การ์ดแสดงผล, การ์ดเสียง, การ์ดโมเด็ม หรือการ์ดแลน ล้วนแล้วแต่มีขั้นตอนการติดตั้งที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ติดตั้งง่ายเพียงคลิกเมาส์ไม่กี่ครั้งก็เรียบร้อย
            ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างขั้นตอนการติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์หลัก ๆ 3 อุปกรณ์ นั่นคือ เมนบอร์ด, การ์ดแสดงผล  และการ์ดเสียง โดยแต่ละอุปกรณ์จะมีขั้นตอนในการติดตั้งไดรเวอร์ดังนี้

                                                 ที่มา  http://www.thainame.net/project/anuwat098/page2_3.html